Search this site

Sunday 5 February 2017

ทำความเข้าใจกับ Intel Core i3, Core i5, Core i7 ว่าจะเลือกใช้อะไรดี

สวัสดีครับ เพื่อนๆ หลายคนที่เคยซื้อ หรือกำลังจะซื้อคอมพิวเตอร์จะต้องเคยนึกงงกันบ้างไม่มากก็น้อยว่าควรเลือกคอมพิวเตอร์ (Desktop/ Laptop/ Tablet/ etc) ที่ใช้ CPU อะไรดี เพราะมีให้เลือกมากมายหลายหลาก แถมมีเลขอะไรก็ไม่รู้เยอะแยะ ชวนให้งง ครั้นจะเลือกเองก็กลัวเลือกผิด ส่วนมากก็จะใช้วิธี "ถาม" เพื่อให้ผู้รู้ (หรือผู้คิดว่าตัวเองรู้) ทั้งหลายทำการ "ชี้เป้า" วันนี้ผมเลยอยากแชร์วิธีการพิจารณาด้วยตัวเองในเบื้องต้นดูครับ

วันนี้จะเน้นไปที่ตระกูล Core i นะครับ ซึ่งในปัจจุบัน Intel ได้รวม Core M เข้าไปในตระกูล Core i แล้ว (เพราะ Core M ชื่อเสียงไม่ค่อยดี ทำอะไรไม่เนียนเลย พับผ่าสิ) ส่วนพวก Atom นั้นเหมือนจะโดน Intel ทอดทิ้ง และอยู่คนละกลุ่มชัดเจน เลยขอละไว้ก่อนในฐานที่เข้าใจ


Intel Core i3, Core i5, Core i7

จริงๆ แล้วทั้งสาม Series มีรายละเอียดที่ต่างกันเยอะมาก วันนี้ผมไม่ได้ต้องการจะลงลึกไปมากนัก (เพราะคนที่รู้ก็คงรู้อยู่แล้ว)  แต่โดยสรุปแล้วต่างกันประมาณนี้ครับ




  • Core i3 คือ Dual-core processors with hyper-threading.
  • Core i5 คือ Quad-core processors without hyper-threading.
  • Core i7 คือ Quad-core processors with hyper-threading.
  • (ที่มา: windowscentral)

    นอกจากนี้ ที่สำคัญ คือ Core i3 นั้นไม่รองรับเทคโนโลยี Turbo Boost ของ Intel ทำให้จะทำงานบางอย่างได้ไม่ดีเท่า ทำให้ Core i3 นั้นเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการใช้งานหนักมาก ซึ่งถ้าจะว่ากันจริงๆ Intel ใส่ hyper-threading มาให้ใน Core i3 ก็ทำให้มันสามารถรองรับงานหนักได้ระดับหนึ่งเหมือนกันครับ ถ้าจะใช้งานพวก Email, MS Word, Social app ต่างๆ, เล่น internet หรือเล่นเกมทั่วๆ ไปนั้น Core i3 ก็เพียงพอเหลือแหล่แล้วครับ ไม่ต้องเผื่อ เพราะนานๆ ใช้ทีอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่เสียเพิ่มไปครับ

    ส่วน Core i5 นั้นเป็นแบบ Quad-core ที่ไม่มี hyper-threading การที่มี 4 Cores นั้นทำให้ Core i5 ทำงานได้ตามที่ Windows ของเราต้องการได้ดีขึ้นอีกเยอะมาก ทำให้ Core i5 นั้นเหมาะกับงาน Productivity และการเล่นเกมส่วนใหญ่ ถ้าการใข้งานของเราประมาณนี้ Core i5 ก็พอแล้วครับ เอางบที่เหลือไปลงกับ GPU, RAM, SSD จะดีกว่า

    แต่สำหรับคนที่ใช้งานหนักกว่าคนทั่วไป เช่น คนที่ต้องตัดต่อวีดีโอ หรือรูปภาพ หนักๆ คงยินดีที่จะเลือก Core i7 กันอยู่แล้ว เพราะเวลาประมวลผล/ render ที่น้อยลง จะทำให้ทำงานได้เร็วทันใจขึ้นมาก เพราะมี hyper-threading ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้นไปอีก อ้อ สำหรับงานสายโหดที่ Core i7 ธรรมดาเอาไม่อยู่ ผมอยากบอกว่า Intel มี Core i7 ที่มี 6 cores, 8 cores, หรือ 10 cores ให้เลือกหากันด้วยนะครับ



    ตัวเลขรุ่นด้านหลัง Core i ทั้งหลายล่ะ หมายความว่าอย่างไร?
    เชื่อว่าหลายๆ คนถ้าแค่ดูรหัสคงดูไม่ออกว่า Core i5-6400 กับ i5-7600K นั้นต่างกันอย่างไร ซึ่งเราสามารถดูได้ง่ายๆ ดังนี้ครับ

    Core i5-ABBBC

    Aคือ generation ครับ i5-6400 ก็คือ 6th generation ส่วน i5-7600K ก็คือ 7th generation หรือเป็นรุ่นใหม่กว่านั่นเอง

    BBB คือ ความแรงของรุ่นนั้นๆ เมื่อเทียบกับ processor ในรุ่นเดียวกัน เช่น i5-7600 จะแรงกว่า i5-7500 ครับ

    ส่วน C นั้น เป็นการบอกถึงลักษณะเฉพาะของ processor นั้นๆ เช่น



  • H - High-performance graphics
  • K - Unlocked for overclocking
  • Q - Quad-core (four physical cores)
  • T - Optimized for efficient desktop computing
  • U - Ultra low power, usually found on laptop processors (slower than desktop chips)


  • เพิ่มเติมสำหรับ Intel Core i5 & i7 ใน 7th generation นี้ Intel จงใจทำให้เรา "งง" ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่ดีเลย โดยเฉพาะการนำเอา Core M มารวมเข้ากับ Core i ใน 7th generation นี้นะครับ (เข้าใจว่าเกิดจากการที่มันไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก และมีความเข้าใจว่าประสิทธิภาพของมันไม่ดีนัก - ซึ่งก็จริง) โดยจะมีรหัส Y อยู่ในรหัสตัวที่ 2 เช่น Core i5-7Y54, Core i7-7Y75

    ดังนั้น ถ้าเราเห็น Laptop core i5-7Ybb ขึ้นมา ให้พึงระวังไว้ ว่าคุณกำลังซื้อ Core M5 นะครับ ที่แย่กว่านั้น ถ้าคุณจะซื้อ Core i7-7Ybb แล้วล่ะก็ คุณกำลังซื้อ Core M7 ซึ่งแน่นอนว่า ประสิทธิภาพจะต่างจากที่คุณคาดไว้ลิบลับเลยทีเดียว