Search this site

Wednesday, 13 June 2018

รู้จักหรือยัง? Windows 10 on ARM

สวัสดีครับ บทความนี้ผมเขียนขึ้นเพื่อแนะนำเพื่อนๆ ให้รู้จักกับ Windows เวอร์ชั่นใหม่ ที่ Microsoft ได้เข็นออกมา และมี 2-in-1 products ออกมาขายแล้วในต่างประเทศ (ณ วันที่เขียนบทความผมยังไม่เห็นในไทยนะครับ ถ้ามีขออภัยด้วย) ที่ชื่อว่า Windows 10 on ARM นั่นเอง ตอนเริ่มเขียนนี่ก็ไม่รู้ว่าจะเขียนยาวแค่ไหนเหมือนกันนะครับ แต่จะพยายามคง concept เดิมๆ ไว้ คือ เขียนให้เข้าใจง่าย และไม่ลงลึกมาก สำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงคอมพิวเตอร์ เพราะเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเชิงลึก มักจะรู้จัก Windows 10 on ARM อยู่ก่อนแล้ว หรือไม่ก็มีความสามารถในการหาข้อมูลเพิ่มเติมได้แน่นอน (หรือ comment ไว้ได้ครับ ถ้าตอบได้ผมจะตอบให้)

หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้เขียนถึง Pro/ Home, OEM/ FPP นะครับ หากต้องการอ่านเรื่องความแตกต่างของ Windows Pro/ Home, OEM/ FPP สามารถอ่านที่ผมเคยเขียนไว้ได้ที่นี่นะครับ

Windows 10 on ARM คืออะไร และทำไมมันถึงสำคัญ
ขึ้นชื่อว่า Windows นั้น จะรันอยู่บน PC ที่มี processor ที่ใช้สถาปัตยกรรม x86 หรือ x64 (นึกถึงพวก Intel, AMD เอาไว้ครับ) (เป็นหลัก เว้นแต่เวอร์ชั่นที่ทำออกมาเฉพาะ เช่น Mobile, IOT, Hololens เป็นต้น) ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มันมีแค่ Intel และ AMD ก็เพราะว่า Intel เองเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ชุดคำสั่ง x86 นั่นเอง ไม่มีใครสามารถเอาไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก Intel ได้ - ผมเข้าใจว่า Intel อนุญาตให้ AMD ใช้ (แบบจ่ายค่าลิขสิทธิ์) เพื่อป้องกันการโดนกล่าวหาเรื่องการครองตลาดอย่างไม่เป็นธรรม

แต่ในปัจจุบัน มี processor อีกสถาปัตยกรรมหนึ่ง ที่มาแรง นั่นคือ processor ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ ARM64 หรืออธิบายให้ชัดอีกหน่อยก็คือ พวก processor ใช้กับ smartphone ของพวกเรานั่นเอง

สำหรับ Microsoft นั้น แม้ว่าจะทำ Windows Phone, Moible, RT ออกมาหลายรุ่น หลายชื่อ เพื่อใช้ใน ARM64 แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จนัก โดยเหตุผลหนึ่งที่ทุกคนมองว่าทำให้ไม่ประสบความสำเร็จก็คือ การที่มันเป็น Windows แต่ดันไม่สามารถทำงานได้แบบที่ผู้ใช้งาน Windows ต้องการ นั่นคือการที่เป็น Open system ที่เราจะ download program อะไรจากไหนมา install ก็ได้หมดนั่นเอง เหมือนกับทำ Windows ตัวใหม่ขึ้นมาแล้วตัดจุดแข็งของตนออกไป มันก็เลยไปไม่รอดนั่นแหละครับ

แต่ในปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไป ARM Chipset นั้น เริ่มมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นแบบก้าวกระโดด ในขณะที่ประหยัดพลังงานอีกด้วย ทำให้ Qualcomm กับ Microsoft ได้ร่วมมือกันในการทำให้ Windows สามารถรันบน ARM processor ได้โดยที่ยังคงจุดเด่นของ Windows ในการที่เราจะลงโปรแกรมจากที่ไหนก็ได้เอาไว้เหมือนเดิม และยังรองรับโปรแกรมหรือแอพที่พัฒนาสำหรับ Windows แบบ x86 เดิมๆ ก็ได้อีกด้วย โปรแกรม x86 นี้นั้น ถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือพวกโปรแกรมหรือแอพทั้งหมดที่เราโหลดหรือซื้อมาลงในคอมของเรานั่นเอง ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Office, Steam, Photoshop, iTunes, Adobe Reader เป็นต้น


Windows 10 ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับ ARM โดยเฉพาะ
ไม่ว่าจะเป็น ตัว Windows 10 เอง, Edge, Cortana, Start menu หรือ Explorer นั้นถูกพัฒนาขึ้นเฉพาะสำหรับ ARM (ARM64 และ ARM32) ทำให้สามารถรันได้ในแบบ native บน ARM รวมถึงพวก graphics, networking, hard disk drivers ต่างๆ ก็เป็น ARM based เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานดีที่สุด เนื่องจากสามารถใช้ความเร็วของ ARM processor ได้เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงแบตเตอรี่ก็ใช้ได้นานอีกด้วยครับ

Version เริ่มต้นของ Windows 10 on ARM คือ Fall Creators Update หรือ v1709 แล้วแต่ใครจะรู้จักมันในชื่อไหนนะครับ

Windows 10 on ARM สามารถใช้โปรแกรม/ แอพอะไรได้บ้าง

Universal Windows Platform (UWP)
UWP apps จาก Microsoft Store นั้นสามารถรันได้แบบ native บน ARM ได้เลยหาก developer ได้ upload ARM package ไว้บน store

ส่วน x86 apps จาก Microsoft Store นั้นจะรันบน emulation เช่นเดียวกับ Win32 apps

Win32 apps
Win32 apps นั้น สามารถรันบน Windows 10 on ARM ได้โดยผ่าน Emulation ได้โดยตรง

เราสามารถโหลดแอพมาลงได้เลยตามปรกติ แต่ให้เลือก version 32 bit เพราะ Windows 10 on ARM จะไม่รองรับ x64 app

สำหรับ x64 app นั้น จะต้องมีการ recompile for ARM โดย developer เสียก่อน จากนั้นก็จะสามารถรันได้แบบ native on ARM ครับ

Emulation บน Windows 10 on ARM คืออะไร ทำงานอย่างไร

การจะทำให้สามารถรัน x86 apps บน Windows 10 on ARM ได้นั้น จำเป็นจะต้องมี Emulator layer มาครอบทับ ซึ่ง Microsoft เรียกมันว่า WOW64 (Windows on Windows) ซึ่งเจ้า WOW64 นี้จะมี code ที่จะช่วยเปลี่ยนชุดคำสั่งที่ x86 apps สั่งออกมาให้กลายเป็น ARM64 เพื่อให้เข้าใจกันได้ และเมื่อรันไปแล้ว 1 ครั้ง จะ WOW64 เก็บชุดคำสั่งนั้นไว้ใน cache เพื่อให้การสั่งงานครั้งถัดไป ทำได้รวดเร็วขึ้น เสมือนไม่ต้องผ่าน Emulation ซึ่ง cahce นี้ สามารถแชร์กันกับ apps อื่นๆ ได้ด้วย ทำให้สามารถทำงานได้รวดเร็วตั้งแต่ครั้งแรก

WOW64 นี้ไม่ใช่ของใหม่เสียทีเดียว แต่เดิม Microsoft ก็ใช้เจ้า WOW64 นี่ล่ะ ในการทำให้ Windows 64 bit สามารถรัน x86 apps ซึ่งเป็น 32 bit ได้อยู่แล้ว เพียงแต่เอา concept ของมันมาปรับใช้กับ ARM64 เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่า Emulation แล้ว มันย่อมส่งผลต่อ performance ไม่มากก็น้อย ยิ่งพอเป็น ARM processor ด้วยแล้ว ก็ส่งผลพอสมควรเลยเชียวครับ ทาง Microsoft เคยเปรยๆ เรื่องนี้ประมาณว่า Emulation layer นี้มีไว้เป็น fail safe เพื่อในกรณีที่เราจำเป็นต้องรัน x86 app เท่านั้น แต่ถ้า app นั้นมี ARM version ไม่ว่าจะเป็น ARM32 หรือ ARM64 ก็ควรหันไปใช้พวก ARM version จะดีกว่า

Windows 10 on ARM เวอร์ชั่นแรก ใช้ Snapdragon 835 PC platform
Microsoft ได้เคยออกมาบอกว่า เนื่องจาก สถาปัตยกรรมแบบ SOC ของ ARM ทำให้การพัฒนา Windows 10 on ARM จะต้อง target ไปเป็นรุ่นๆ ไป นั่นทำให้ผมสรุปว่า Windows 10 on ARM ในรุ่นแรกๆ จะเหมือนเป็น proof of concept ว่า Windows 10 ตัวเต็ม ที่รองรับ x86 app สามารถทำได้จริง ซึ่งเมื่อช่วงปลายปี 2016 Microsoft และ Qualcomm ก็ได้เลือก chip ที่แรงที่สุดในขณะนั้นมาพัฒนา Windows นั่นก็คือ Snapdragon 835 นั่นเอง



สำหรับหลายๆ คนที่คุ้นๆ กับชื่อ Snapdragon 835 ก็เป็นตัวนั้นเลยครับ แต่มีการเร่งสปีดให้เร็วขึ้นเล็กน้อย เพราะ PC เองมีขนาดใหญ่กว่า Smartphone มาก จึงระบายความร้อนได้ง่ายกว่ามาก และได้ตั้งชื่อให้กับ 2-in-1 PC ที่ใช้ SD835 นี้ว่า Always Connected PC

Always Connected PC ที่มีขายในท้องตลาดแล้ว มีอะไรบ้าง
อย่างที่ผมบอกไปตั้งแต่ต้นนะครับว่า ผมไม่คิดว่า Always Connected PC นี้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยของเรา แต่มันมีขายแล้วในตลาดต่างประเทศจำนวน 3 รุ่นด้วยกัน คือ HP Envy X2; ASUS Nova Go; และ Lenovo Miix 630 ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2018 นี้



ซึ่งทาง Qualcomm โฆษณาว่า Always Connected PC นั้นมีจุดขายที่ไม่เหมือนใคร คือ 
  • Always on, always connected เพราะการที่มี SD835 นี่แหละครับ ทำให้ PC ของเราเปิดติดปิดไวเหมือน smartphone และเชื่อมต่อกับสัญญาณมือถือ 4G ได้ตลอดเวลา แม้จะ sleep อยู่ก็ตามครับ
  • Beyond all-day battery life ซึ่งจะทำให้เราจะแทบไม่ต้อง shutdown PC เลย ก็เสริมข้อ 1 ไปอีก ที่ว่าเปิดติดปิดไวครับ Always Connected PC ตามด้านบนทั้งสามรุ่น ล้วนบอกว่า ใช้งานบนแบตเตอรี่ได้นานกว่า 20 ชั่วโมง และมี connected standby ยาวนานได้ถึง 30 วันเลยทีเดียว เรียกได้ว่าชาร์จทีใช้จนลืมกันไปเลย
ก้าวสู่ 2nd generation ของ Always Connected PC กับ Snapdragon 850

หลังจากรุ่นแรกออกมาแล้ว ทาง Qualcomm ก็ได้ประกาศตัว Sanpdragon 850 mobile compute platform ออกมา



SD850 นี้ "Not for mobile phone" นะครับ เพราะทำมาใหญ่กว่า mobile chip ปรกติ เพราะ PC ระบายความร้อนได้ดีกว่า ทำให้ "จัดเต็ม" ได้มากกว่านั่นเองครับ

นี่เป็นการ "เอาจริง" ของ Qualcomm เพราะได้พัฒนา Chip เฉพาะ สำหรับ Windows 10 on ARM โดยเฉพาะ และได้มีการเปลี่ยนชื่อ จาก mobile PC มาเป็น mobile compute ซึ่งน่าจะแสดงว่า เราน่าจะได้เห็น form factor ใหม่ๆ นอกจาก 2-in-1 PC ทยอยออกมาแน่นอน โดย Qualcomm บอกแค่ว่า จะมี devices ที่ใช้ SD850 นี้ออกมาในช่วงครึ่งปีหลังของ 2018 นี้เลยครับ

Credit: https://docs.microsoft.com/en-us/windows/uwp/porting/apps-on-arm
https://docs.microsoft.com/en-us/windows/uwp/porting/apps-on-arm-x86-emulation
https://www.qualcomm.com/products/snapdragon-835-mobile-pc-platform
https://www.qualcomm.com/products/snapdragon-850-mobile-compute-platform

Wednesday, 6 June 2018

เปรียบเทียบ Core M3, i5, i7 ใน Laptop/ notebook


สวัสดีครับ ผมเคยเขียนเปรียบเทียบ Core i3, i5,i7 เอาไว้ว่ามันคืออะไรและรหัสรุ่นของ intel มีความหมายอย่างไร ซึ่งมีผู้อ่านที่แนะนำเข้ามาให้เพิ่มข้อมูลให้จำเพาะมากขึ้น ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะครับ แต่ในปัจจุบันนี้ intel ยิ่งนับวันยิ่งจะสร้างรุ่นเล็กรุ่นน้อยเพิ่มขึ้น และมีการแตกไลน์ออกมามากมาย และเปลี่ยนแปลงเกือบตลอดเวลา ทำให้การเขียนบทความให้เข้าใจง่ายๆ นั้นยากขึ้นมาก ไว้หากลงตัวเมื่อไหร่คงจะได้อัพเดทบทความกันทีเดียวนะครับ



วันนี้ผมจะมาแชร์ข้อมูลที่ต่างไปสักนิดหน่อย เพราะบังเอิญไปเจอบทความที่น่าสนใจที่เค้าเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ New Surface Pro (2017) โมเดล Core M3, i5, และ i7 แล้วรู้สึกว่าน่าสนใจมาก เหมาะที่จะนำมาใช้เป็น reference ในการเปรียบเทียบ Core M3, i5, i7 ใน Laptop/ notebook มากๆ ดังนั้น ผมขอออกตัวก่อนเลยว่าผลการทดสอบที่ผมจะเขียนต่อไปนี้ ได้มาจากในเว็บที่อ้างอิงครับ แต่การตีความและการสรุปผลนั้น ผมเขียนจากการวิเคราะห์ของผมเองเพิ่มเติมด้วย เพราะวัตถุประสงค์ในการนำข้อมูลมาใช้นั้นต่างกันอยู่บ้างนั่นเองครับ

ทำไม New Surface Pro (2017) ถึงเหมาะกับการทำ benchmark?


New Surface Pro (2017) นั้น มี variation ระหว่างโมเดลน้อยเมื่อเทียบกับ Laptop/ notebook รุ่นอื่นๆ ครับ ทั้ง Hardware และ Software
  • Hardware: New Surface Pro (2017) รุ่น Core M3, i5 และ i7 นั้น ต่างกันหลักๆ ก็แค่ CPU, on board GPU, RAM, SSD เท่านั้น นอกนั้นแทบไม่มีอะไรต่างกันเลย จัดได้ว่าตัวแปรน้อยกว่า
  • Software: Windows 10 Pro ที่ใช้ใน Surface Pro นั้น เป็น Surface edition ซึ่งได้ถูก pre-config มาเพื่อให้ใช้งาน Windows 10 ได้อย่างดีที่สุด โดยมี Drivers และ Bloatware ต่างๆ ติดเครื่องมาด้วยน้อยกว่าเจ้าอื่นๆ มาก

หมายเหตุ ณ วันที่เขียนบทความนี้ Intel ยังไม่มี gen 8 ในส่วนของ Core M (หรือ Y series) ออกมา และกว่าจะออกมา U series gen 9 ก็อาจจะมาแล้วก็เป็นได้ ดังนั้น การใช้ Gen 7 มาเทียบกัน ก็ถือว่าล่าสุดแล้วครับ

เรามาเริ่มกันที่ Spec sheet ก่อนเลยว่าทั้งสามรุ่นนี้ต่างกันอย่างไร


CPU model
Core M3 7Y30
Core i5 7300U
Core i7 7660U
# of cores
2
2
2
# of threads
4
4
4
Clock speed
1.0-2.6 GHz
2.6-3.5 GHz
2.5-4.0 GHz
Cache
4 MB
3 MB
4 MB
TDP
4.5 W
15 W
15 W
GPU
HD 615
HD 620
Iris plus 640
จะเห็นได้ว่าจาก Spec sheet นั้น จำนวน Core และ Thread นั้นเท่ากันทั้งสามรุ่น (ซึ่งนี่จะต่างไปใน gen 8 ผมจะได้เขียนบทความถึงมันในโอกาสถัดไป)

ส่วนที่มีความแตกต่างมากที่สุด คือ Clock speed ระหว่างทั้งสามรุ่น โดย Core M มี speed น้อยกว่า Core i5 มาก ส่วน Core i7 นั้นกลับมี base clock speed ที่ต่ำกว่า Core i5 ด้วยซ้ำ แต่มี Turbo speed ที่มากกว่า สำหรับ Cache size นั้น Intel เหมือนจะตั้งใจลดประสิทธิภาพของ Core i5 ลงด้วยการให้ Cache size มาแค่ 3MB เท่านั้น ซึ่งดันน้อยกว่า Core M3 อีกต่างหาก

สำหรับ TDP นั้น Y-series อย่าง Core M3 กินไฟอยู่ที่ 4.5 W ส่วน U-series Core i5, Core i7 นั้นจะกินไฟอยู่ที่ 15 W ซึ่ง ถ้าดูจากค่านี้แล้ว ดูเหมือนว่า Core M3 จะประหยัดแบตเตอรี่ได้ดีกว่าที่เหลือทั้งสองตัว ส่วน Core i7 ก็ไม่น่าจะกินไฟมากกว่า Core i5 มากมายนัก

เอ้า มาดูผลการทดสอบ benchmark ต่างๆ กันเถอะ


Novabench

Novabench
Core M3 7Y30
Core i5 7300U
Core i7 7660U
System RAM test
152
159
211
CPU test
408
526
534
3D graphic test
61
63
231
Drive Write Speed test
19
26
36

ถึงแม้ว่าผมจะเกริ่นไว้ตอนแรกว่า New Surface Pro (2017) นั้น มีความแตกต่างในระหว่างรุ่นน้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม จากผล Novabench ก็จะเห็นได้ว่ามีส่วนที่ต่างกันบ้าง เช่น RAM ในรุ่น Core i7 นั้นเร็วกว่ารุ่นอื่นๆ ถึง 30% และ SSD ก็มีความเร็วที่มากขึ้นตามขนาดของ SSD อยู่แล้วซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของ SSD ครับ

เรามาโฟกัสในส่วนของ CPU กันดีกว่า จาก Novabench นี้ CPU Core M3 ได้คะแนนน้อยกว่าอีกสองรุ่นถึงประมาณ 25% แต่ที่น่าสนใจก็คือ Core i5 ที่ได้คะแนนน้อยกว่า Core i7 แค่ไม่ถึง 10 คะแนนเท่านั้น

สำหรับ 3D graphic test นั้น Intel HD 615 ในรุ่น Core M3 และ 620 ในรุ่น Core i5 ให้ผลที่ไม่ต่างกัน แต่ Intel Iris plus 640 ที่มากับรุ่น Core i7 นั้นเจ๋งจริงครับ ได้คะแนนมากกว่าอีกสองรุ่นถึงเกือบ 4 เท่ากันเลยทีเดียว

สรุป ถ้าดูจาก Novabench แล้ว CPU Core i5 และ i7 นั้น ประสิทธิภาพต่างกันนิดเดียว แต่รุ่น Core i7 ที่มาพร้อม Iris plus 640 นั้นคือความแตกต่างที่สัมผัสได้ ดังนั้น หากซื้อ laptop ที่เป็น Core i7 ควรดูด้วยว่ามี GPU อะไรมาด้วยนะครับ ถ้าไม่มี dedicated GPU เจ้าตัว Iris Plus นี่แหละที่จะสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก

PCMark 10

PCMark 10
Core M3 7Y30
Core i5 7300U
Core i7 7660U
Essentials
5824
6103
6900
Productivity
3749
4712
5866
Digital content creation
1807
2277
2740
PCMark 10 score
2440
2889
3444

PCMark 10 แสดงถึง performance สำหรับงานต่างๆ ซึ่งผลที่ได้แสดงออกมาเป็นขั้นบันไดสวยงามทีเดียว แสดงให้เห็นว่า รุ่นที่สูงกว่า เอาเข้าจริงๆ ก็ทำงานในแบบต่างๆ ได้ดีกว่า ยกเว้นก็แต่ Essentials ที่ Core M3 กับ Core i6 มีคะแนนที่ได้ต่างกันแค่นิดเดียวเท่านั้นครับ

สรุป ดูจาก PCMark 10 แล้ว จ่ายมาก ก็ได้มาก ตรงไปตรงมา

3DMark 11

3DMark 11
Core M3 7Y30
Core i5 7300U
Core i7 7660U
Time spy
Failed
Failed
571
Fire strike
721
824
1099
Sky diver
3249
3442
4354
Cloud gate
4953
5543
6820
Ice storm extreme
31780
33979
46521

3DMark 11 เป็นการทดสอบที่เน้นประสิทธิภาพของ 3D graphic performance เป็นหลัก ซึ่งผลของมันสอดคล้องกับ Novabench ด้านบนที่ว่า Intel HD ต่างรุ่นกันนิดหน่อยของ Core M3 และ Core i5 นั้น ให้ผลที่ต่างกันไม่มาก แต่ในรุ่น Core i7 ที่มี Intel Iris Plus นั้น ช่วยให้ได้คะแนนที่ดีขึ้นอย่างมาก ดังนั้นผมสรุปได้เลยว่า หากต้องการซื้อ Core i โดยเน้นที่การทำงาน 3 มิติแล้ว ต้องดูให้ดีว่า ได้ Iris Plus มาด้วยทุกครั้ง ขืนได้ Intel HD มาล่ะก็ ผมเชื่อว่าผลลัพธ์จะได้ไม่ต่างจาก Core i5 แน่ๆ

สุดท้าย ที่สำคัญที่สุดของผลลัพธ์ที่ได้จาก 3DMark 11 ก็คือ Laptop Core i5 ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า Laptop Core M3 อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับงาน 3 มิติ นี่ล่ะครับ

Browser tests

CPU
Core M3 7Y30
Core i5 7300U
Core i7 7660U
Google Octane v2.0
22018
31440
36030
Mozilla Kraken v1.1
1626 ms
1153 ms
1031 ms

Browser test ทั้งสองนี้ ทดสอบความเร็วในการรัน Javascript นะครับ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นการทดสอบที่ไม่ได้หนักหนาอะไรมากมาย ซึ่งผลการทดสอบ บอกเราได้ว่า Core i5 ทำงานได้ดีกว่า Core M3 อย่างเห็นได้ชัด แต่ใน Core i7 กลับเร็วขึ้นแค่นิดเดียวเมื่อเทียบกับ Core i5

สรุปผลการเปรียบเทียบ Y-series Gen 7 Core M3, Core i5 & Core i7

เมื่อพิจารณาให้ดีจากผลการทดสอบด้านบนแล้ว ผมคิดว่าข้อสรุปเดิมๆ นั้นก็ยังใช้ได้ ที่ว่า
  • Y-series Gen 7 Core M3 นั้น เหมาะกับการใข้งานทั่วๆ ไป และก็น่าจะมีแบตเตอรี่ที่ใช้ได้นานที่สุดด้วย
  • Y-series Gen 7 Core i5 นั้น เหมาะกับผู้ที่ใช้ทำงาน productivity ต่างๆ
  • Y-series Gen 7 Core i7 (ที่มาพร้อมกับ Intel Iris Plus) นั้น เหมาะกับผู้ที่ทำงาน 3D graphics ครับ

ลองพิจารณากันดูนะครับ ว่าการใช้งานของเรานั้น เหมาะกับการใช้ชิปรุ่นไหน



Credit: ผลการทดสอบจาก Lovemysurface.net