สวัสดีครับ
สำหรับเพื่อนๆ ที่กำลังคิดจะเลือกซื้อ WIFI router เพื่อใช้ในบ้านหรือที่ทำงานนั้น
เรื่องที่ผมจะมาพูดถึงวันนี้น่าสนใจมากครับ
ผมคิดว่ามันจะมีส่วนช่วยให้ตัดสินใจเลือกซื้อ WIFI router
ที่เหมาะสมทั้งในเรื่องของประสิทธิภาพ
และงบประมาณได้เป็นอย่างดีทีเดียว (วันนี้โทนมาดูเป็นทางการเนอะ... ใช่แล้วครับ
บทความนี้เป็นบทความให้ความรู้ ^^)
ทำไมถึงต้องซื้อ WIFI router ในเมื่อผู้ให้บริการก็มักจะให้มาด้วย
ในเมืองไทยนั้น
ผู้ให้บริการ Internet ตามบ้าน
มักจะให้ Router มาด้วย
เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องไปนั่งปวดหัวเลือกซื้อ WIFI Router ที่อาจเข้ากันได้
หรือเข้ากันไม่ได้กับผู้ให้บริการ Internet รายนั้นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย
ซึ่งในเรื่องนี้ผมเห็นด้วยที่ผู้ให้บริการในบ้านเราทำอย่างนี้นะครับ
เพราะเท่ากับว่ามันลดความยุ่งยากซับซ้อน
และปัญหาในการติดตั้งของผู้ใช้งานลงได้เกือบทั้งหมดเลยทีเดียว ที่บ้านผมเองก็ใช้ Router ที่ผู้ให้บริการให้มาด้วยนี่ล่ะครับ
ก็ใช้งานได้ดีเลยทีเดียว สัญญาณแรงใช้ได้ ความเร็วก็มาเป็นปกติ
แล้วทำไมถึงมานั่งปวดหัวในการเปลี่ยน
/ หรือซื้อเพิ่มล่ะ?
ผมเองก็คิดเช่นนั้น
ก็เลยใช้ของ standard มาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม standard Router ที่แถมมาให้นั้น
มักเป็นตัวที่เป็น Standard จริงๆ
และเหมาะกับบ้านหรือที่ทำงานที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก และมีผู้ใช้งานไม่เยอะมาก
ซึ่งสถานการณ์จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงหากเรามีบ้านใหญ่ๆ หรือมีผู้ใช้งานจำนวนมาก
ยิ่งเป็นที่ทำงานยิ่งแล้วใหญ่ สถานที่กว้างขวาง มีหลายชั้น ไม่มีทางที่ WIFI router แค่ตัวเดียวจะรองรับการใช้งานได้หมดอย่างแน่นอน
ดังนั้น ความต้องการ WIFI Router จึงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ในราคาที่ต่างกันมากตั้งแต่หลักพันต้นๆ ไปถึงหลักหมื่น
แล้วเราจะเลือกซื้ออย่างไรล่ะ?
WIFI router แบ่งได้เป็นกี่ประเภทหลักๆ อะไรบ้าง
เมื่อพูดถึงเรื่องขนาดของสถานที่
และจำนวนผู้ใช้งานแล้ว ผมขอแบ่ง WIFI router ตามจำนวน Band ครับ
โดยมันจะแบ่งเป็น Single-Band, Dual-Band, Tri-Band
ลองดู WIFI router ใน Lazada
ลองดู WIFI router ใน Lazada
Single-Band WIFI Router: ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพจำกัด
Single-Band
WIFI Router นั้น ทำงานอยู่ที่คลื่นความถี่เดียว คือ 2.4 GHz โดยมักจะรองรับมาตรฐาน 802.11a/b/g เป็นอย่างน้อย (มาตรฐาน 802.11g กำหนดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2003 นู่นเลยครับ เก่าพอสมควรแล้ว)
มาตรฐานนี้รองรับความเร็วสูงสุดได้ที่ 54 Mbps (Mega bit
per second)
แต่ถ้า
Router ที่ใหม่ๆ
หน่อยก็มักจะรองรับมาตรฐาน 802.11a/b/g/n ซึ่งมาตรฐาน 802.11n นี้ รองรับความเร็วสูงสุดในทางทฤษฎีได้ถึง 800 Mbps (ผมเน้นคำว่าโดยทฤษฎีอีกครั้ง
พอใช้งานจริงแล้ว มันยากมากที่ n จะทำความเร็วได้ถึงขนาดนั้น)
ข้อดีของ
Single-Band WIFI Router ก็คือมันราคาถูก,
สามารถเข้ากันได้กับอุปกรณ์ WIFI ทุกประเภท
(เนื่องจากเป็นมาตรฐานเก่ามากแล้ว), และการที่ใช้ความถี่ที่ 2.4 GHz นั้น ก็ช่วยให้สัญญาณ WIFI สามารถทะลุทะลวงพวกผนัง กำแพง ประตู
และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ได้ดีกว่า หรือง่ายๆ ว่า สัญญาณไปได้ไกลกว่านั่นเอง
ส่วนข้อเสียของ
Single-Band WIFI Router ก็คือ มันมีความเร็วที่ช้ากว่า Router ประเภทอื่นๆ, เนื่องจากเป็นมาตรฐานเก่า
มีคนใช้มาก จึงมักเจอสัญญาณกวนได้มากกว่า, รวมถึงไม่รองรับความสมบัติใหม่ๆ เช่น MU-MIMO เป็นต้น
Dual-Band WIFI Router: ประสิทธิภาพดี ในราคาที่ยอมรับได้
Dual-Band
WIFI Router นั้น ตามชื่อของมันเลยว่าทำงานบนสองคลื่นความถี่
ความถี่แรกก็คือความถี่ 2.4 GHz แบบเดียวกับ
Single-Band WIFI Router ตามที่อธิบายไว้ด้านบน
และเพิ่มคลื่นที่สอง บนมาตรฐาน 802.11ac ที่ทำงานบนคลื่นความถี่ 5 GHz อีกหนึ่งคลื่น ซึ่งมาตรฐาน 802.11ac นี้ รองรับความเร็วสูงสุดในทางทฤษฎีได้ถึง
2,167 Mbps (ย้ำนะครับ
ว่าเป็นตัวเลขโดยทฤษฎีอีกแล้ว)
สำหรับบ้านและสำนักงานที่ไม่ใหญ่มาก
การที่ Router รองรับคลื่นความถี่ 5 GHz นั้น
เป็นจุดที่สร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง เพราะเสมือนมีทางด่วนเปิดใหม่
ยังไม่ค่อยมีคนใช้เพิ่มเติมขึ้นมาลดความแออัดในคลื่น 2.4
GHz นั่นเองครับ
นอกจากนี้แล้ว
Dual-Band WIFI Router
บางรุ่นยังรองรับเทคโนโลยี MU-MIMO อีกด้วย
ซึ่งเทคโนโลยี MU-MIMO นี้จะช่วยให้การที่มีอุปกรณ์เชื่อมต่อ
WIFI พร้อมกันหลายๆ เครื่องนั้น
มีประสิทธิภาพดีขึ้น ไม่ต้องรอคิวนานเพราะอุปกรณ์ WIFI ดั้งเดิม จะส่งสัญญาณไปได้ทีละอุปกรณ์เท่านั้น ซึ่งการที่มี MU-MIMO นั้นจะช่วยให้บ้าน/ ออฟฟิศที่ใช้งาน internet พร้อมๆ กันหลายๆ
เครื่องนั้นสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างลื่นไหลมากขึ้น
ข้อดีของ
Dual-Band WIFI Router ก็คือ
เนื่องจากการที่มันเป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบันทำให้ราคาแพงขึ้นจาก Single-band ไม่มากนัก,
อุปกรณ์มาตรฐานใหม่นี้จะช่วยให้มีระยะและความเสถียรมากขึ้น,
เข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่รองรับ 5 GHz band เช่น Smartphone, Laptop รุ่นใหม่ๆ,
และแน่นอนที่สุดก็คือมี bandwidth มากกว่า
Single-band WIFI router หนึ่งเท่าตัวเลยทีเดียว
ส่วนข้อเสียของ
Dual-Band WIFI Router ก็คือ
การรบรวนของคลื่น 5 GHz ที่จะมีอุปกรณ์ใช้งานมากขึ้นในอนาคต,
ความเร็วจะลดลงเมื่อมีอุปกรณ์จำนวนมากเชื่อมต่อกับ WIFI พร้อมๆ กัน, รวมถึงการที่คลื่น 5 GHz มีระยะทำการที่น้อยกว่า 2.4 GHz เมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งกีดขวางมาก (ผนัง, ประตู, เฟอร์นิเจอร์, etc.)
Tri-Band WIFI Router: ซื้อเผื่ออนาคตสำหรับ power users
Tri-Band
WIFI router นี้เพิ่งเปิดตัวมาไม่นานนี้สามารถทำความเร็วได้สูงสุดในระดับ
Gigabit (อาจสูงถึง 4,000 Gbps บนคลื่น 5
GHz) โดยที่ "tri-band" หมายถึง มี 2.4 GHz 1 band และ 5
GHz 2 bands นั่นเอง
การที่มี
2 bands นั้น
จะช่วยให้ลดการรบกวนลงได้มากเมื่อเทียบกับ Dual-Band WIFI
Router ซึ่งแน่นอนว่า เหมือนมี Highway
สำหรับคลื่น 5 GHz เพิ่มมาอีกหนึ่งเส้นทาง ทำให้ Tri-Band WIFI
Router นี้เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการซื้อ WIFI router แล้วใช้งานยาวๆ กันไปนะครับ
ข้อดีของ
Tri-Band WIFI Router ก็คือ
รองรับการเชื่อมต่อหลายๆ อุปกรณ์ได้โดยส่งผลต่อความเร็วของ WIFI น้อยกว่า Dual-band, มี Bandwidth เพิ่มจาก Single-band และ Dual-band,
สามารถกำหนดได้ว่าอุปกรณ์ไหนจะให้เชื่อมต่อกับ Band ไหน. มีการรบกวนน้อยลง, อุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ
จะช่วยให้ MU-MIMO ทำงานได้ดีขึ้น
ส่วนข้อเสียของ
Tri-Band WIFI Router นั้น
แน่นอนว่าราคาสูงมากเมื่อเทียบกับสองประเภทข้างต้น,
และถ้าเราไม่มีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับคลื่น 5 GHz ได้ ก็ถือว่า "เสียของ" นั่นแหละครับ
ลองดู WIFI router ใน Lazada
ลองดู WIFI router ใน Lazada
เรื่องของการต่อ WIFI ไปเพิ่มหลายๆ
จุดภายในบ้าน
การเลือก
Single-, Dual-, Tri-Band WIFI Router นั้น เราสามารถแก้ปัญหาเรื่องจำนวนอุปกรณ์ที่ใช้งานพร้อมๆ กันไปได้
แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องความครอบคลุมของสัญญาณไปได้
แต่หากจะเขียนถึงเรื่องนี้จริงๆ คงต้องแยกไปเขียนเป็นบทความอีกบทความหนึ่ง
เพราะมันจะยาวมาก อย่างไรก็ตาม ขอสรุปวิธีการเพิ่ม WIFI หลายๆ จุดในบ้านไว้ ประมาณนี้ครับ หากใครต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม
ในระหว่างที่ผมยังไม่มีเวลามารวบรวมข้อมูลให้ สามารถ Google
ไปพลางๆ ก่อนได้ดังนี้ครับ
- ซื้อ Router เพิ่มแล้วเดินสาย LAN ต่อจาก Router เดิม ซึ่งเลือกประเภท router ได้ตามด้านบนครับ วิธีนี้ได้ผลลัพธ์ที่ดี แต่ต้องมีการเดินทาง LAN ซึ่งหลายๆ คน ไม่สามารถทำเองได้
- ซื้อ WIFI extender เป็นเครื่องที่รับสัญญาณ WIFI จากเครื่องหลักมา แล้วกระจายต่ออีกที วิธีนี้ทำได้ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ความเร็วลดลงมาก รวมถึง Ping ก็เพิ่มขึ้นมากด้วยเช่นกัน
- ทำ MESH WIFI เป็นการสร้างเครื่อข่ายในบ้านกันเอง เจ้าตัว MESH WIFI router จะรับส่งข้อมูลจากเครื่องหลัก และ MESH ด้วยกันเอง วิธีนี้ความเร็วที่ลดลง จะน้อยกว่า WIFI extender ครับ
Story source: Linksys
Image sources: linksys.com, podfeet.com, popeyegood.tistory.com, superawesomevectors.deviantart.com, enriquedans.com
No comments:
Post a Comment