Search this site

Saturday, 29 April 2017

วิธีการป้องกันไม่ให้ Windows 10 ทำการ update ตัวเองอัตโนมัติ

สวัสดีครับ ปัญหาหนึ่งที่ผู้ใช้งาน Windows 10 โดยเฉพาะ Windows 10 Home นั้นมักจะเจอกัน คือ Windows 10 Home นั้นจะทำ windows update automatically ซึ่งถ้ามันมาไม่ถูกจังหวะ (เช่น กำลังจะปิดคอมกลับบ้าน, กำลังทำงาน) แล้ว ก็จะสร้างความรำควญให้กับเราเป็นอย่างมาก ถึงมากที่สุด

เอาจริงๆ เราก็สามารถ set มันได้ในระดับนึง ใน Windows 10 Pro นั้น เราสามารถเลือก Defer มันได้ครับ แต่สำหรับ Windows 10 Home นั้น เราเลือกได้แค่เวลาที่เราจะไม่ให้มัน restart เท่านั้น ดังนั้น ปัญหานี้ จัดได้ว่าเป็นปัญหาที่หนักกว่าของผู้ที่ใช้ Windows 10 Home ครับ วันนี้ผมเลยมีวิธีการง่ายๆ ในการทำให้ Windows 10 ไม่ update ตัวเองเวลาที่เราไม่ต้องการครับ ด้วยวิธีการเซ็ทให้ internet ของเราเป็น metered internet connection ซึ่งจะทำให้ windows update service นั้นจะไม่ download windows update file (เพื่อประหยัดปริมาณ data ที่เราใช้งาน) และนั่นจะทำให้ไม่เกิดการ update เองโดยอัตโนมัตินั่นเองครับ

หมายเหตุ Windows 10 ที่ผมมั่นใจว่าสามารถทำตาม guide นี้ได้ คือ Windows 10 Home/ Pro Creators update นะครับ

การดูว่า Windows 10 ของเราเป็น Home หรือ Pro

  1. เลือก Settings
  2. คลิก Update & security
  3. คลิก Activation
  4. ดูตรง Edition ครับว่าเป็น Home หรือ Pro

การเซ็ทให้ internet ของเราเป็น metered internet connection

ปกติแล้ว WIFI นี่ Windows 10 จะจัดอยู่ในประเภท unlimited internet ครับ เราสามารถใช้ประโยชน์จากการตั้งค่าให้มันกลายเป็น metered internet เพื่อหยุด Windows update service ได้ง่ายๆ ดังนี้
  1. เลือก Settings
  2. คลิก Network & internet
  3. คลิก WIFI
  4. เลือก WIFI network ที่เราต้องการจะ set
  5. เลื่อนแถบ Set as metered connection ไปทางขวา
ปล. วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศเป็น video guide นะครับ ลองทำดูครับ ^^

ง่ายๆ เพียงเท่านี้ครับ เมื่อไหร่ที่เราอยากจะทำ windows update เราก็สามารถปรับกลับไปเป็นแบบเดิมได้ครับ

ข้อควรระวังของ Metered internet connection

มีข้อควรระวังอยู่นะครับในการเซ็ทให้ WIFI นั้นๆ เป็น metered internet connection เพราะมันจะทำให้การ sync ข้อมูลบางอย่างไม่ทำงานเพื่อประหยัดปริมาณ data ที่เราใช้งาน เช่น OneDrive sync ซึ่งอาจจะกระทบการใช้งานของบาง app ได้นะครับ





Sunday, 23 April 2017

การตรวจสอบสถานะและประวัติการใช้แบตเตอรี่ใน Windows 10

สวัสดีครับ วันนี้ผมมี Tips ง่ายๆ สำหรับเพื่อนๆ ที่ใช้ Windows 10 Laptop/ tablet ที่มีแบตเตอรี่ในตัวนะครับ เรามีวิธีตรวจสอบ
  • Cycle count
  • Full charge capacity เทียบกับ Designed capacity
  • ประวัติการใช้งาน (เวลาทำงานบนแบตเตอรี่ และเวลาทำงานแบบเสียบปลั๊ก)
  • ระยะเวลาที่เครื่องเราใช้งานได้จริง
ทั้งหมดนี้ทำได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่งเพียงคำสั่งเดียว ย้อนกลับไปได้จนถึงวันแรกที่ใช้งานเลยทีเดียว ทำแบบนี้เลยครับ
  1. เปิด command prompt ซึ่งทำได้ 3 วิธี แล้วแต่ความถนัด
    1. เลือก Start > Windows system > command prompt
    2. กด search/ Cortana แล้วพิมพ์ "cmd" หรือ "command prompt"
    3. กด Windows + R แล้วพิมพ์ "cmd"
  2. พิมพ์ "powercfg /batteryreport"

  1. สังเกตุว่ามันสร้าง 'battery-report.html' ไว้ที่ไหน

  1. เข้าไปเปิด battery-report.html ใน folder นั้น ก็จะเจอข้อมูลทั้งหมดที่ผมว่ามาครับ

ปล. เครื่องผมใช้มา 10 เดือนครับ ดูเหมือนแบตจะยังดีอยู่ 😁

สำหรับผู้ที่ใช้บ่อย และ Advance Users

วิธีการนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการสร้างไฟล์ .BAT แล้วแปะไว้ที่ Desktop ก็สะดวกต่อการใช้งานดีครับ

Sunday, 16 April 2017

Windows 10 Home/Pro และ OEM/FPP เลือกแบบไหนดี

สวัสดีครับ หลายๆ ครั้งเวลาเราเลือกซื้อ Windows นั้น เวลาเดินเข้าไปในร้าน (หรือเข้าไปในเว็บ) เรามักเจอกับ 4 ตัวเลือกว่า เราจะซื้อแบบ Home หรือแบบ Pro จากนั้นเราก็จะเจอคำถามว่าเราจะซื้อแบบ OEM หรือแบบ FPP l ซึ่งราคาและคุณสมบัติก็จะต่างกันไป คร่าวๆ ประมาณนี้เลยครับ

(หมายเหตุ สำหรับวิธีการเลือก 32 bit/ 64 bit นั้น ผมเขียนไว้เป็นส่วนหนึ่งของในอีกหน้าหนึ่งนะครับ >>HERE<<)

ตัวอย่างราคาของ Windows 10 ทั้ง 4 แบบจากเว็บ JIB.co.th (16 Apr 2017)

Windows 10 Home
Windows 10 Home นั้น เหมาะสำหรบผู้ใช้งานตามบ้านทั่วไป ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการบำรุงรักษา Windows และแทบไม่เคยเข้าไปยุ่งกับ Settings, securities ใดๆ เลย เพราะสำหรับผม Windows 10 Home นั้นเป็น version ที่มันเซ็ททุกอย่างให้เป็น automatic มากที่สุดแล้วครับ ไม่ว่าจะเป็น Windows update, Windows defender และการผูกกับ Microsoft account และเอาจริงๆ Windows 10 Home ไม่ได้มีฟังก์ชั่นอะไรที่ถูกตัดออกไปเลยครับ และราคาก็ถูกกว่าพอสมควร

สรุป --> Windows 10 Home เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

Windows 10 Pro
Windows 10 Pro นั้น คือ Windows 10 Home ที่เพิ่มตัวเลือกของมือโปรในการเข้าถึงและจัดการต่างๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของความปลอดภัย (securities features) เช่น Device guard, Secure boot, Bitlocker รวมถึง feature อื่นๆ สำหรับมือโปร เช่น Microsoft Hyper-V ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้ใช้งานระดับองค์กรต่างๆ มีความจำเป็นต้องใช้กัน
อย่างไรก็ตาม หากท่านเป็นผู้ใช้งานทั่วไป สิง่ต่างๆ เหล่านี้ที่ผมว่ามาก็แทบจะไม่ได้ส่งผลถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของท่านเลยครับ

สรุป --> Windows 10 Pro เหมาะกับองค์กรขนาดเล็กและผู้ใช้งานระดับโปร (advance users, professionals)


(หมายเหตุ จริงๆ ยังมี Windows 10 Enterprise & Windows 10 Education อีกนะครับ แต่เข้าใจว่าไม่น่าใช่ version ที่จะให้เลือกซื้อกันเอง)

OEM licence
OEM licence นั้น หมายถึงว่า Windows licence นั้นๆ เมื่อใช้ในการ activate Windows ที่เครื่องใดแล้ว จะใช้ได้กับเครื่องนั้นเพียงเครื่องเดียว โดย Windows licence จะผูกติดกับรหัส Mainboard / Hard drive ที่เราใช้ ซึ่งทำให้ราคาของ OEM licence ถูกกว่าแบบ FPP licence

สำหรับท่านที่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่มาพร้อมกับ Windows 10 นั้น licence ที่ได้มาจะเป็น OEM licence ทั้งหมด

หมายเหตุ ถึงจะบอกว่าผูกกับ Mainboard/ Hard drive ของเครื่องเรา แต่ถ้าเราเปลี่ยนอะไหล่ เราสามารถ reactivate ได้โดยใช้ activation trouble shooter ได้เลย (รายละเอียดไว้เล่าให้ฟังทีหลังแล้วกันครับ)

FPP licence
FPP licence นั้นเรียกอีกอย่างว่าเป็น retail version ซึ่งเมื่อเราซื้อไปแล้ว จะถือว่าเรามี 1 Windows licence ติดตัวกับ Microsoft account ไปตลอด และสามารถ install/ uninstall ใน computer เครื่องใดก็ได้ ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานที่เปลี่ยนคอมพิวเตอร์ค่อนข้างบ่อย (เช่น ซื้อ Laptop ใหม่ทุก 2-3 ปี เป็นต้น) ผมเข้าใจว่าคนกลุ่มนี้ก็มีไม่น้อย เช่น เกมเมอร์ทั้งหลายที่ต้องอัพเกรดคอมใหม่อยู่ตลอดๆ (แต่ถ้าอัพเกรดเป็นส่วนๆ ก็สามารถ reactivate ได้นะครับ)

My recommendation
ถ้าเป็นสมัยก่อน เช่น Windows 7 ผมจะแนะนำให้ผู้ใช้งานทั่วไปซื้อ Windows 7 Pro OEM เพราะผมเห็นว่า FPP ไม่จำเป็นเท่าไหร่ เดี๋ยวผ่านไปซักพัก Microsoft ก็จะออก Windows version ใหม่มาให้เสียตังใหม่ตลอด

แต่ในปัจจุบัน Microsoft ได้เปลี่ยนรูปแบบของ Windows ไป โดยได้มีการออกมาประกาศว่า Windows 10 จะเป็น version สุดท้ายของ Windows และจากนี้ไปจะเปลี่ยนเป็นการใช้งานแบบ WAAS (Windows-As-A-Service) แทน โดยจะมี feature upgrade มาให้เรื่อยๆ แบบที่เราเห็น Anniversary update (v1607) และ Creators update (v1703) ดังนั้น ผมเริ่มจะเอนเอียงไปทางฝั่ง FPP แล้วล่ะครับ ซื้อครั้งเดียวใช้ไปได้เรื่อยๆ

ดังนั้น ณ วันนี้ผมแนะนำว่าผู้ใช้งานทั่วไป ควรซื้อ Windows 10 Home FPP และ Advance user ซื้อ Windows 10 Pro FPP ครับ (สำหรับร้านเกมทั้งหลายอาจพิจารณา volume licencing ครับ) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สามารถพิจารณาได้ตามต้องการของเราครับ


(หมายเหตุ แต่หากไม่ซีเรียสมากนัก เมื่อเทียบราคากันแล้ว Laptop ที่มี Windows 10 OEM licence แถมมาด้วยกับเครื่องนั้น อาจจะถูกกว่าการที่เราซื้อเครื่องเปล่าแล้วไปซื้อ Windows 10 OEM/ FPP licence มาใส่เองด้วยซ้ำไปครับ แต่ถ้าเรา build desktop เอง การเลือกซื้อ Windows ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ)